วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

Biologically-Inspired Desktop Wall Paper

ใครที่ชอบรูปประกอบเรื่อง แบบเมื่อวาน
รูปดอกไม้ ต้นไม้ ใบหญ้า กว่า 50 รูป
เอามาทำเป็น desktop wall paper สวย สบายตา ดีนะครับ




Download ได้ที่นี่

Credit: Mike Swansan

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

จิตที่รู้ตื่น -จะพลิกผันโลก


ตัดจากคอลัมน์ธรรมชาติบำบัด
มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับ 1423 วันที่ 23 พฤศจิกายน 2550
(ภาพประกอบ จาก MSwansan's wide screen wall paper)


ธรรมชาติบำบัด


น.พ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล dr.banchob@balavi.com http://www.balavi.com

จิตที่รู้ตื่น-จะพลิกผันโลก

"เรากำลังอยู่ในยุคแห่งการเปลี่ยนผันด้านหลักความคิดความเชื่อที่สำคัญยิ่ง เป็นความเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างความเชื่อของสังคมตะวันตก ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมือง หรือแสนยานุภาพทางการทหารใดๆ จะยิ่งใหญ่และทรงพลานุภาพเท่ากับการเปลี่ยนผันทางความคิดจิตสำนึกของคนเรา เมื่อมนุษย์เราได้ใคร่ครวญอย่างสุขุมรอบคอบ จนเปลี่ยนแปลงทัศนะของตนที่มีต่อสิ่งอันเป็นสัจธรรมแล้ว มนุษย์นั้นไซร้ก็กำลังจะพลิกผันโลกทั้งใบ"

วิลลิส ฮาร์แมน นักอนาคตศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงได้ให้คำนิยมแก่หนังสือชื่อ "The 2007 Shift Report-Evidence of a World Transforming" หนังสือนี้มีความหนาเพียงไม่กี่สิบหน้า เป็นของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งการรู้ตื่น [The Institute of Noetic Sciences(IONS)]

ปี ค.ศ.1973 มีนักบินอวกาศคนหนึ่งของโครงการอพอลโล 14 ชื่อ เอดการ์ มิตเชลล์ ภายหลังจากที่ศีรษะของตนได้โผล่พ้นประตูยานอวกาศที่นำเขาร่วงลงสู่พื้นมหาสมุทรแปซิฟิกเรียบร้อยแล้ว เขาก็ได้ละเลิกตนเองจากงานอวกาศทั้งหมด หันไปศึกษาต่อทำปริญญาเอกทางด้านวิทยาศาสตรต์ควอนตัม

จากนั้นไม่รู้เหตุผลกลใดแต่พวกเจ๊าะแจ๊ะลือกันว่า เขาอาจได้รับประสบการณ์บนยานอวกาศที่ทำให้เขาเข้าใกล้พระเจ้าเพียงแค่เอื้อม ครั้นมาต่อเชื่อมกับความรู้ควอนตัมฟิสิกส์ ทำให้เขาตัดสินใจขายทิ้งทรัพย์สินทั้งหมดที่ตนมี แล้วนำเงินไปก่อตั้งองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรชื่อ "สถาบันแห่งการรู้ตื่น" ซึ่งทุ่มเทให้ทุนการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ทางจิตอย่างเต็มพละกำลัง จนมีชื่อเสียงไปทั่วโลก

หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ในนามของสถาบัน ได้ชี้ทางออกสำหรับมนุษยชาติในภาวะที่สังคมมนุษย์กำลังเข้าตาอับอย่างทุกวันนี้



อ่านเพิ่มเติมได้ในมติชนสุดสัปดาห์ฉบับล่าสุด

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

สะกดจิตตัวเอง


บทความนี้ตัดตอนจาก บทความเกี่ยวกับสุขภาพจิต โดย กรมสุขภาพจิต
ต้องการอ่านเนื้อหาเต็ม ตามอ่านได้ที่นี่ full story



ชนาธิป ศิริปัญญาวงศ์ นักสะกดจิตบำบัด จากชมรมนักสะกดจิตแห่งประเทศไทย เจ้าของประกาศนียบัตรนักสะกดจิตบำบัด ได้ให้ความเห็นว่า



ทั้งนี้ หลักการสะกดจิตตัวเองมีวิธีง่ายๆ คือ ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมบวกมากที่สุด โดยทำการสะกดจิตในช่วงสภาวะที่เหมาะสม คือ ภาวะเคลิบเคลิ้ม ช่วงก่อนนอนหรือเพิ่งตื่นนอน จิตใจสบายใจ มีความสุข หรือจินตนาการถึงสิ่งที่มีความสุข จิตใต้สำนึกก็จะเปิดแล้วพูดกับตัวเองเรื่อยๆ ในสิ่งที่ตนตั้งใจจะแก้นิสัย เช่น ตื่นเช้าขึ้นๆๆๆ ประมาณ 10 ครั้งก่อนเข้านอน ต่อเนื่องทุกวันจนเกิดการเปลี่ยนแปลง จึงบอกกับตัวเองต่ออีก 20 วัน เพื่อให้ผลการเปลี่ยนแปลงคงทนถาวร

“หากเข้าใจ ทำถูกขั้นตอน รับรองว่าแก้ปัญหาได้ 100% อย่างไรก็ดี ส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจหรือเข้าใจไม่ครบ บางคนทำมา 10 ปีแล้วก็ไม่ดีขึ้น อีกทั้งอาจเรียนรู้มาผิดๆ หรืออ่านหนังสือที่เขียนผิดๆ แปลผิดๆ รวมทั้งการให้ข้อมูลกับตัวเองในแง่บวกว่า ฉันดีขึ้น เก่งขึ้น อดทนขึ้น สวยขึ้น ในคราวเดียว ฟังดูเผินๆ ดีแต่ผิดหลัก เพราะจิตใต้สำนึกนั้นจะรับข้อมูลมากมายแบบนั้นไม่ได้ การบอกตัวเองแบบนี้ ไม่ใช่สะกดจิตตัวเองแต่เป็นคำขวัญวันเด็กพวกขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัด อดทน สรุปแล้วจิตใต้สำนึกไม่ได้อะไรสักอย่างเดียว”

ชนาธิปให้เทคนิคสำคัญอีกอย่างของการเปิดจิตใต้สำนึกเพื่อให้ข้อมูลกับตัว เองสู่การเปลี่ยนแปลงนิสัยว่า จะต้องหลีกเลี่ยงคำในด้านลบเช่น เราจะไม่พูดคำว่า “ฉันจะไม่สูบบุหรี่” “ฉันจะไม่กินเหล้า” แต่ให้พูดว่า “ฉันอยากเลิกบุหรี่” “ฉันอยากเลิกเหล้า” ก็คือ หลีกเลี่ยงคำว่า “ไม่” กับคำว่า “จะ” เหตุผลเพราะคำเหล่านี้เป็นนามธรรม จับต้องไม่ได้ พร้อมกับบอกกับตัวเองด้วยคำและความหมายที่ตรง ง่าย กระชับ ให้ข้อมูลกับจิตใต้สำนึกจากปัญหาพื้นฐานง่ายๆ ไปปัญหาที่ยากและซับซ้อนขึ้น เมื่อข้อความเหล่านั้นเข้าสู่จิตใต้สำนึกไม่เกิน 20 วัน เราจะเห็นความเปลี่ยนแปลง เช่น หากเป็นคนตื่นสายเมื่อให้ข้อมูลกับตัวเองว่า ตื่นเช้าขึ้น ก็จะตื่นเช้าขึ้นเองโดยไม่ต้องอาศัยนาฬิกาปลุก และเมื่อพบว่า ตื่นเช้าขึ้นจริงๆ ได้แล้วก็เลิกทำ แล้วค่อยบอกข้ออื่นๆ ต่อไป แต่หากไม่เป็นผล นั้นแสดงว่าผู้ทำการสะกดจิตต้องทำผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ให้ข้อมูลมากเกินไป ลำดับความยากง่ายไม่ถูกต้อง

อีกกระบวนการหนึ่งเป็นการเขียนป้ายบอกกับตัวเอง เช่น เขียนคำว่า “ตื่นเช้าขึ้น” ก็ติดไว้ในบ้านให้มากที่สุด เช่น ติดไว้หน้าห้องน้ำ ในห้องน้ำ ตู้เสื้อผ้า เมื่อเปิดตู้เสื้อผ้า ประตูห้องนอน โต๊ะกินข้าว ตู้เย็น ที่กระจกแต่งหน้า ซึ่งปกติแล้วในช่วงเวลาต่างๆ อย่างเมื่อตื่นใหม่ๆ จิตใจจะว่าง ช่วงที่นั่งตาจะลอยเมื่อสายตาเราไปพบกับป้ายเหล่านี้ก็จะเป็นตัวกระตุ้นจิต ใต้สำนึกของตัวเอง

“น่าแปลกในช่วงว่างๆ คนมักจะคิดแต่เรื่องร้ายๆ วนไปวนมา หรือคิดฟุ้งซ่านเหลวไหลไม่จบไม่สิ้น การติดป้ายเป็นการกระทำเพื่อหยุดกระบวนการนั้น หากหยุดไม่ได้เราจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง แต่จะแย่ขึ้นทุกวันๆ ดังนั้นเมื่อตื่นเช้าก็ให้พูดกับตัวเองว่า ฉันขยันมากขึ้นทุกวันๆ ฉันสดชื่นๆ เลิกพูดเสียทีว่า โอ้ย! ขี้เกียจ เบื่อจังเลยไม่อยากไปทำงาน”

“ครั้งหนึ่งเคยมีเจ้าของกิจกรรมมาหาผมเขาติดป้าย สดชื่นมากขึ้น จนทั่วบริษัท ตอนแรกก็กลัวว่าจะรกแต่กลับกลายเป็นว่า พฤติกรรมคนในที่ทำงานนั้นเปลี่ยนไป ดังนั้นถ้าติดที่ทำงานหรือที่รถได้ก็ติดด้วยทำอย่างที่ผมแนะนำเยอะๆ รับรองมีการเปลี่ยนแปลงภายใน 1 เดือน แน่นอน”

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

สืบเนื่องจาก SWOT

เนื่องจากเคยเขียนเรื่องเกี่ยวกับ SWOT และการพัฒนาตนเองไปเมื่อหลายเดือนก่อน

ตอนนี้ปรากฎว่า เรื่อง SWOT กับการพัฒนาตนเองนั้น เป็นข้อมูลอ้างอิงให้นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่อ่านประกอบการเรียนวิชา System Analysis and Design ไปแล้ว

http://www.doc.eng.cmu.ac.th/course/cpe364/assignments.php

:-) น่ายินดีครับ


คงมีคนเข้ามาอ่าน web มากขึ้นนะครับ

สำหรับผู้ที่เข้ามาแล้ว อ่านบทความต่าง ๆ ที่ จิตใจดี นี้ คงเห็นแนวทางของบทความต่าง ๆ ที่อยู่ที่นี่แล้ว
(ศาสนา การบริหารจัดการ การทำให้ชีวิตให้มีความสุข ...)

อ่าน แล้วอยากแบ่งปันข้อมูลหรือความคิดดี ๆ
มาช่วยกันเขียนดีกว่าครับ ผมจะ add ผู้เขียนให้

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ลักษณะเด่น พุทธศาสนา

ุพุทธศาสนา (ฺีBuddhism) เป็นศาสนาที่เกิดขึ้นเพื่อปรับปรุง และแก้ไขสังคมอินเดียในยุคนั้นให้ดีขึ้น จากการกดขี่ของพราหมณ์ จากการเหลื่อมล้ำทางสังคม จากการถือวรรณะจัด จากการนิยมบวงสรวงบูชายัญด้วยสัตว์เป็นจำนวนมาก จากการกดขี่สตรี (ดูหนังเรื่ององคุลิมาล จะเห็นชัดขึ้น) พุทธศาสนาจึงเป็นเสมือนน้ำทิพย์ชโลมสังคมอินเดียโบราณให้ขาวสะอาดมากขึ้น กว่าเดิม คำสอนของพุทธศาสนาทำให้สังคมโดยทั่วไปสงบร่มเย็น ลักษณะพิเศษหลายประการที่แตกต่างจากศาสนาอื่นๆ ดังนี้


๑.เป็นศาสนาแห่งความรู้และความจริง

พุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความรู้ เพราะเป็นศาสนาแห่งการตรัสรู้ของพระพุทธองค์เอง จากปัญญาของพระองค์ และธรรมที่พระองค์ตรัสรู้คือ อริยสัจ ๔ ก็เป็นความจริงอย่างแท้จริง ทรงตรัสรู้โดยไม่มีใครสั่งสอน นักปราชญ์ทั้งหลายทั้งในอดีตและปัจจุบันจึงกล่าวยกย่องว่า เป็นศาสนาที่ประกาศความเป็นอิสระของมนุษย์ให้ปรากฏแก่โลกยิ่งกว่าศาสนาใดๆ ที่มีมา


๒.เป็นศาสนาแห่งความอิสระเสรีภาพ

พุทธศาสนาแทบจะเป็นศาสนาเดียวที่ไม่ผูกติดกับผู้ดลบันดาลหรือพระผู้เป็นเจ้า ไม่ได้ผูกมัดตัวเองไว้กับพระเจ้า เชื่อในความสามารถของมนุษย์ว่ามีศักยภาพเพียงพอ โดยไม่ต้องพึ่งพาอำนาจใดๆภายนอก เชื่อว่ามนุษย์เองสามารถปลดเปลื้องความทุกข์ได้โดยไม่รอการดลบันดาล พุทธศาสนาไม่มีการบังคับให้คนศรัทธาหรือเชื่อ แต่ให้สามารถพิสูจน์ได้โดยตนเอง


๓.เป็นศาสนาอเทวนิยม

นอกจากศาสนาเชนแล้ว พุทธศาสนาเป็นศาสนาเดียวที่ไม่เชื่อพระเจ้าเป็นผู้บันดาลทุกสิ่ง ผู้สร้างทุกสิ่ง แม้กระทั่งโลก เพราะเหตุว่าพุทธศาสนาไม่เชื่อในอำนาจการดลบันดาลของพระเจ้า จึงเรียกว่าศาสนาฝ่ายอเทวนิยม คือ ศาสนาที่ไม่เชื่อเรื่องพระเจ้า


๔.เป็นศาสนาแห่งสันติภาพ

ในกระบวนการนักคิดของโลกศาสนา พุทธศาสนาได้รับการยกย่องจากทั่วโลกว่า เป็นศาสนาแห่งสันติภาพอย่างแท้จริง เพราะไม่ปรากฏว่ามีสงครามเกิดขึ้นในนามของศาสนา หรือเผยแผ่ศาสนาโดยการบังคับผู้คนให้นับถือ ให้เสรีภาพในการพิจารณา ให้มีปัญญากำกับการศรัทธา ในขณะที่หลายศาสนากล่าวว่า ศาสนิกต้องมีศรัทธามาก่อนปัญญาเสมอ และต้องมีความภักดีต่อพระเป็นเจ้าสูงสุดจะวิพากษ์จิจารณ์ไม่ได้

หนังสือประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย โดย พระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ


ที่มา http://www.dhammathai.org/buddhism/buddhism4t.php

วันศุกร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

คณิต







หนึ่งผลงานของนักเรียนทุนในต่างแดน
อ่านบทสัมภาษณ์ได้ที่นี่