วันอาทิตย์ที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2552

แอบขายหัวเราะ :P

"มันเป็นโส่งโหล่ง..เส่งเหลง
มันเป็นเป็นง๊อกๆแง๊ๆ...

จั่งซี้มันต้องถอน
จั่งซี๊..มันต้องถอน..."

ปอยฝ้าย มาลัยพร
นักร้องแห่งทีมงานเสียงอีสาน...

เอ่อ..ฟังๆไปก็แอบขำค่ะ
คิดได้ไงเนี๊ยะ..

สุมเชียนผู้บ่าวมักเหล้า..คงถูกใจ

แต่ว่าเค้าก็ร้องเพื่อความบันเทิง
ไม่ได้คิดเป็นของมืนเมาแต่อย่างไรนะคะ แห่ะๆ :P

วันนี้...แอบไม่มีสาระนะคะ
เพราะไม่ถนัดด้วยค่ะ อิอิ
ยังไงคนอ่าน..ก็อ่านให้เป็นสาระเอาล่ะกัน (จื้ย..ย)

หลังจาก..ที่เคร่งเครียดกับวิชาการมานาน
อาการหลงๆลืมๆ..คิดโน่นคิดนี่
คิดเรื่อยๆเปื่อยๆมันก็ปะปนกันไปหมด

เพราะสมองไม่ได้พักผ่อน..
เมื่อวานได้แวะ 7shop
ตั้งใจซื้อนมมาบำรุงนม..เอ้ย..ร่างกาย
และตั้งใจสองคือ..แอบชะแว๊บ..อยากดูตลกเสียงอิสานชุดที่ 18
ที่ 7 shop ม่ายมีค่ะ T_T

แต่อันที่ไม่ตั้งใจ...ก็ลอยอยู่กับที่แต่มันเข้าตาอิฉันค่ะ
"ขายหัวเราะ..จัมโบ้"

เอ๊ะ...เคยหลบอ่านตามห้างหนังสือ
มันเล่มเล็กๆนี่นา ราคาตอนนั้น 10-15 บาท เอง

ตอนนี้เท่าไหร่แล้วล่ะ
ไม่รู้ค่ะ..เพราะไม่ได้อ่านนานแย้วววว..ว

เมื่อก่อนชอบอ่านขายหัวเราะมาก
ติดตามตลอด...

บางครั้งไม่มีตังค์ซื้อ
ก็ทำท่าว่าจะซื้อ..โดยเข้าร้านหนังสือ
แล้วหอบหนังสือว่าจะซื้อไว้เยอะๆ

แล้วก็ไปหลบมุมเปิดอ่าน..แบบไว
ออกมา...ก็ไม่ต้องซื้อขายหัวเราะอ่านเองค่ะ :P

พักหลังๆ หลายปีล่ะ
ไม่ค่อยซื้ออ่านค่ะ
เพราะว่า...คนมักยืมอ่านต่อ

ให้เราเป็นฝ่ายจ่ายคนเดียว
รู้สึกเสียเปรียบก็เลย..เลิกอ่าน

แต่ว่า..เห็นเล่มนี้มันใหญ่ดี
ต้องขายหัวเราะเป็นพิเศษ

เลยหยิบมาอ่าน(หน้าปก)
เพราะเค้าหุ้มพลาสติกอย่างดี

555...5 หมดสิทธิ์เปิดอ่านฟรีค่ะ


ก็ไม่เป็นไร...ซื้ออ่านได้ค่ะ
เพราะตอนนี้หาเงินใช้เองเป็นแย้ว :P

ในเล่ม..เอาหัวล้านเป็นประกันค่ะ
ว่าคลายเครียดได้..ขำของเขาจริงๆ

อันนี้แค่เบาะๆค่ะ
เป็นของคุณชัย ราชวัตร เป็นผู้ลงลายเส้นเอกลักษณ์

"เสียงหัวเราะ"

ฮ่า..ฮ่า..ฮ่า..
(หัวเราะอย่างนี้ไม่เก่งคณิต นะเนี๊ยะ 555..5)

  • คนที่หาญกล้า..หัวเราะใส่หน้าคนในกระจกเงา...คือคนที่กล้าหาญจริง
  • โรคภัยไข้เจ็บมักพ่ายแพ้ต่อเสียงหัวเราะ
  • บ้านที่มีเสียงหัวเราะ...ลูกหลานมักกลับบ้านตรงเวลา
  • วันที่สูญเปล่า..คือวันที่ไม่ได้หัวเราะเลย..ซักครั้ง
  • คนหัวเราะทีหลัง..คือคนคิดช้ากว่าเพื่อน
  • เราจะไม่เลิกหัวเราะ..เพราะเราเริ่มแก่..แต่เราจะเริ่มแก่..เพราะเราเลิกหัวเราะ
---------------------------------
อ่านแล้ว..เป็นเหมือนเรา
อย่างนี้ไหมคะ :D

จงหัวเราะ...จงหัวเราะ
จงหัวเราะ...

เราจะหัวเราะ..จะหัวเราะ

นี่คือ...กฎการหัวเราะของลูกเสือสำรอง รุ่นเดอะ :P

อันนี้ไม่ตลก..ไม่ขำ
แต่อยากเล่าสู่กันฟัง...
(แต่ท่านต้องอ่านนะ...เพราะฟังคงไม่ได้ยิน) :P

เมื่อวันที่ 18-21 มีนาคมที่ผ่านมาได้ไปทริปทางชลบุรี
ฉันพร้อมด้วยคณะที่ทำงานได้มีโอกาส
ไปชมสวนนงนุช ที่พัทยาค่ะ


วันทีเข้าชม..ร้อนมาก
เหตุที่เข้าชม..เพราะได้ยินว่าสวยมาก
ทางสวนเค้าจัดจำลองสถานที่สำคัญต่างๆเอาไว้

ถ้าใครจะไปดูพืชสวนโลกที่เชียงใหม่
มาดูที่สวนนงนุชแทนก็ได้..(เค้าว่ามา)

อ่ะ...ไปที่เดียวแต่ดูได้คุ้ม
ไป..ไป..ไป...ไป...

นี่คือเสียงสนับสนุนการท่องเที่ยวในครั้งนี้

พอมาถึง..
อ้ายก็เริ่มถามหา..

ว่าเราจะชมยังไง
ร้อนก็ร้อน

เดินชมคงไม่ไหว..เพราะสวนกว้างใหญ่อลังการ

ตกลงว่า..ก็ขึ้นรถของสวนนั่นแหล่ะค่ะ
ขึ้นประมาณ 10 นาที ก็ลงถ่ายภาพ แช๊ะๆๆๆ
5 นาที ขึ้นรถ สลับกันไปมา ท่ามกลางความร้อน

เพราะงั้นงานนี้ใครไปช่วงนี้..ไม่เหมาะค่ะ
มันร้อนจริงๆ ต้องไปช่วงปลายฝนต้นหนาว

หรือถ้าใครจะไปก็ต้องไปส่วนตัวค่ะ
จะได้มีเวลาเยี่ยมชมพันธุ์ไม้สวยๆงามๆได้นาน
พกร่ม..พกหมวกกันแดด แว่นกันแดดด้วยจะดี
(แต่วันนั้นเราไม่พกซักกะอย่าง) ตาหยี ผิวดำได้มาเป็นของแถมสำหรับทริปนี้ค่ะ -_-

ภาพนี้..สงสัยค่ะว่า
แถวบ้านเรา..เค้าไม่โชว์ค่ะ

เค้ามีแต่เก็บมากิน..และก็ขาย
เราและพี่ๆที่ไปด้วยกันก็เลยถ่ายไว้เป็นที่ระทึก

ดูจากปริมาณแล้ว...ความงามเราคงไม่สู้ข้าวโพดค่ะ
แต่ถ้าคุณภาพพอฟัดพอเหวี่ยงถูๆไถๆกันได้ 555...5 :P


อ้อ...มาที่นี่..อย่าลืมพกน้ำตัวเองมาด้วยนะคะ
เพราะที่สวนนงนุช ขายแพงมาก ขวดละ 20 บาทแหน่ะ
บ้านเราขอกินฟรียังได้เลย -_-"

พี่ๆสั่งไปคนละขวด
อั้ยเรา...หัวหมอ..กินมิรินด้าน้ำแดง 25 บาท
กะว่าน้ำเปล่าไปกินในรถได้ เค้ามีบริการ :P

(เป็นอันว่าเสียเกินเพื่อนไปตั้ง 5 บาทแต่ได้กินสองอย่างอ่ะ ) แห่ะๆ

ว่าแล้ว...ก็ยังอ่านขายหัวเราะไม่จบเลย
เพราะคืนนี้จะดูตลกเสียงอิสาน ชุดที่ 18 ค่ะ

ถ้าตลก....มากๆจะเก็บไว้ขำคนเดียว
แต่ตลกพอซำหนึ่ง...จะแอบมาขายให้ชุมชนจิต-ใจ-ดี
อุดหนุนกันนะคะ อิอิ :P

อ่านจบแล้ว...คิดค่าบริการคนละ 6 สลึงช่วยอิฉันสิคะ
55..555..555..555..

ลึดดดดดดดดดดด -_-"(สำลักน้ำลายค่ะ)

ปล. ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสวนนงนุช อ่านฟรี :D

วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2552

"คนซื่อสัตย์ คือสมบัติของพระราชา"




อ่านฟอร์เวิร์ดเมล์ฉบับนี้แล้วซึ้ง "คนซื่อสัตย์ คือ สมบัติของพระราชา"
ที่มา หนังสือพิมพ์สยามรัฐฉบับวันศุกร์ที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๑


เมื่อหลายปีก่อน (ประมาณสัก ๑๓ปี) มีนักธุรกิจคนหนึ่งไปหาอาตมาที่วัดสุทัศน์ฯ
เป็นนักธุรกิจที่ทำงานอยู่กับคุณเจริญคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี

เมื่อพบกัน ท่านผู้นี้ก็แจ้งความประสงค์ของการมาพบ และเล่าเรื่องที่เป็นจุดประสงค์ ดังนี้...
"ท่านคงพอจะจำผมได้นะครับ เราเคยพบกันที่บ้านของคุณเจริญคุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี
ผมมีเรื่องอยากจะเล่าให้ท่านฟังดังนี้ว่า

เมื่อก่อนผมเป็นครูสอนวิชาภูมิศาสตร์และวิชาประวัติศาสตร์
ปกติผมต้องไปค้นคว้าข้อมูลในหอสมุดแห่งชาติ
ต่อมา ก็มีนักเรียนหญิงคนหนึ่งผูกเปีย ๒ ข้างเข้าไปค้นข้อมูลอย่างจริงจัง
ว่างก็สนทนากันถึงเรื่องวิชาการ
...อยู่มาวันหนึ่งนักเรียนหญิงคนนั้นก็ชวนผมไปเที่ยวบ้าน
โดยบอกว่าจะให้พ่อเลี้ยงข้าวหนึ่งมื้อ ในฐานะที่ให้ความรู้ด้านวิชาการ
โดยมีการนัดแนะกันที่พระราชวังดุสิต สวนจิตรลดา
โดยเธอบอกว่าเมื่อเข้าประตูที่ ๑
แล้วขอให้บอกแก่คนที่เฝ้าประตูด้วยคำพูดนี้ (เป็นคำเฉพาะ)

...ครั้นถึงวันนัดหมายผมก็เดินทางไปโดยรถแท็กซี่
เมื่อเข้าประตูผมก็มิได้สงสัย คงบอกเจ้าหน้าที่ตามนั้น
ครั้นถึงขั้นที่ ๒ ผมก็บอกตามนั้นอีก เจ้าหน้าที่ก็อัธยาศัยดี ให้ความเคารพผมอย่างยิ่ง
แต่พอถึงขั้นที่๓ ผมก็เริ่มเห็นภาพชัดเจนว่า...แท้ที่จริงเด็กผู้หญิงคนนั้นคือ

"สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี"

ซึ่งตอนนั้นยังมิได้เฉลิมพระยศนี้...

...ท่านครับ พอผมนึกออกก็เริ่มสั่นแล้ว
แต่เหตุที่ผมนึกไม่ออกนั้น เพราะผมไม่เคยคิดเลยว่า
เจ้าฟ้าจะสนพระทัยในวิชาการอย่างจริงจัง
เวลาค้นคว้าก็ทรงสืบค้นด้วยพระองค์เองทุกอย่าง
ทรงค้นคว้าและจดจำอย่างขมีขมัน
โดยมิได้มีข้าราชบริพารเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับพระองค์
และเวลาที่ทรงสนทนาก็ให้ความนับถือคู่สนทนา
ยิ่งรู้ว่าผมเป็นครูสอนวิชาดังกล่าว

...เมื่อผมรู้ว่านักเรียนหญิงคนนั้นคือสมเด็จพระเทพฯ ผมก็ประหม่า
และแล้วรถแท็กซี่ก็ถึงที่นัดพบ
สักครู่พระองค์ก็เสด็จออกมาแล้วตรัสปฏิสันถาร
ถึงตอนนี้ผมก็ก้มลงกราบกับพื้น
และที่ทำให้ผมสั่นยิ่งขึ้นก็คือ
ตอนนี้ผมรู้แล้วว่าคุณพ่อของเด็กผู้หญิงคนนี้คือ

"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"


...ท่านครับ
สักครู่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เสด็จออกมา
ทรงมีพระพักตร์ที่ยิ้มแย้มแล้วตรัสว่า

"เห็นลูกสาวบอกว่าเป็นเพื่อนกัน"
เมื่อพระองค์ตรัสดังนี้
ผมก็ก้มลงกราบด้วยความประหม่าเป็นที่สุด แล้วกราบบังคมทูลว่า
"มิเป็นการบังอาจ พระพุทธเจ้าข้า"

...พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระมหากรุณาธิคุณตรัสว่า
ขอให้ทำตัวตามปกติไม่ต้องประหม่าหรือกลัวแต่อย่างใด
พระองค์ตรัสขอบใจที่ได้เป็นเพื่อนสนทนาในวิชาการดังกล่าว
จากนั้นพระองค์ก็ตรัสว่า

"อันที่จริงก็มีผู้อยากขอเข้าเฝ้าฯ เป็นจำนวนมาก
บางรายก็ขอนำเงินขึ้นทูลเกล้าถวาย แต่เราก็ไม่สามารถจะรับเงินของบางคนได้
เราจะรับเงินของเขาได้อย่างไร ในเมื่อเงินที่เขานำมาถวายเรานั้น
เป็นเงินที่เกิดจากการขายแผ่นดินของเรา
เราจึงรับเงินนั้นไม่ได้

...ถ้าจะถามพระราชาอย่างเราว่าพระราชาอย่างเราต้องการอะไร
เราก็ขอตอบว่า...พระราชาอย่างเราต้องการคนที่ซื่อสัตย์
เพราะคนที่ซื่อสัตย์ คือ สมบัติของพระราชาอย่างเรา"

...ท่านครับ
ผมก้มลงกราบถวายบังคมพระองค์อีกครั้ง ด้วยความซาบซึ้งน้ำตาไหล
ในพระมหากรุณาธิคุณ ที่พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้แก่ครูสอนหนังสือเล็กๆ คนหนึ่ง
พระราชดำรัสของพระองค์มีคุณค่ายิ่งต่อชีวิตของผม
จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็พระราชทานเลี้ยงก๋วยเตี๋ยว
เป็นอาหารที่ผมรับประทานแล้วอิ่มตลอดชีวิต........

...ท่านครับ จากวันนั้นมา
ชีวิตผมก็เปลี่ยนแปลงไป โดยที่ผมเองก็มิได้รู้ว่าทำไม
ชีวิตของผมซึ่งเป็นครูต้องเปลี่ยนแปลงงานที่ทำโดยมิได้ตั้งใจ
ชีวิตเจริญก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ
แต่พระราชดำรัสที่พระองค์ตรัสไว้นั้นจารึกอยู่ในใจผมเสมอ .
..ผมอยากจะเรียนท่านให้ทราบเพียงเท่านี้แหละครับ

ถ้าท่านจะกรุณานำไปเล่าให้คนทั้งหลายได้รับทราบ
ก็จะเป็นลาภของคนที่ฟัง
เขาจะได้รู้ว่าพวกเขาควรทำอย่างไรจึงจะได้ชื่อว่าเป็นคนของพระราชา

อาจารย์ท่านนี้เมื่อเล่าจบก็ลากลับด้วยสีหน้าที่อิ่มสุขและน้ำตาที่คลอเบ้าตา
มิใช่เพียงอาจารย์ท่านนี้ที่อิ่มสุขเท่านั้น
อาตมาเองซึ่งเป็นผู้ฟังก็อิ่มสุขน้ำตาคลอเบ้าเช่นเดียวกัน
บทความของ พระราชวิจิตรปฏิภาณ วัดสุทัศน์

ได้เมล์มาหลายวัน ไม่เปิดอ่านสักที คิดว่าคงเคยอ่านแล้ว
ไม่รู้คนอื่นอ่านกันบ้างรึยังคะ อยากเอามาเผยแพร่บ้าง
หลายวงการคอรัปชัน และแข่งขันโดยลืมจรรยาบรรณ
อ่านเรื่องนี้แล้วรู้สึกชอบมากเลย ตรงใจตอนนี้มากๆ
คิดว่าทำดีลำบาก ทำชั่วง่าย สบายด้วย แต่หลายๆครั้งที่ท้อไม่อยากทำดี
ก็ได้เรื่องในหลวงนี่แหละ ช่วยให้มีกำลังใจทำดีต่อไปค่ะ

ได้รับ Fw mail จากเพื่อน... อ่านแล้วอิ่มสุขน้ำตาคลอเบ้า
มีกำลังใจมากมาย ...จึงอยากแบ่งปันค่ะ
ขอให้มีกำลังใจในการทำความดีต่อไปนะคะ

สวัสดีค่ะ............
by สีตะวัน......................^_^

ที่มารูปภาพจากเน็ต

วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2552

ความพอใจในชีวิต



"ความพอใจในชีวิต... "
"ขึ้นอยู่กับการเปรียบเทียบของคุณ "

ถ้าคุณวัดความพอใจในชีวิตตอนนี้
กับชีวิตที่ดีเยี่ยมสองสามครั้งก่อน


คุณก็จะไม่มีความสุขแน่ๆ...
เพราะช่วงนั้นๆ จะเอามาเลียนแบบทำใหม่ไม่ได้


ถ้าคุณวัดความพอใจในวันนี้
กับช่วงสาหัสหนักหนาของชีวิตที่ผ่านมา ...


คุณก็จะมีเหตุผลมากมาย
ที่จะชื่นชมยินดีกับนาทีนี้


บ๊อบบี้เป็นนักเรียนที่เก่งมั๊ย?
ก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณกำลังเปรียบเทียบเขากับใคร


กับเด็กทั่วไป หรือไอน์สไตน์
แฮริสัน ฟอร์ดเป็นนักแสดงที่เก่งหรือเปล่า


อืม...คุณกำลังเปรียบเทียบเขากับคีนู รีฟส์

หรือโรเบิร์ต เดอ นิโรล่ะ
วันนี้เป็นวันที่ดีมั๊ย

อืม...คุณกำลังเปรียบเทียบกับวันรับปริญญา
วันแต่งงาน วันเฉลิมฉลองอื่นๆ
หรือเทียบกับวันอังคารอื่นๆ โดยทั่วไปล่ะ


เราต้องพิจารณาเรื่องพวกนี้ในมุมมองที่เป็นจริง

นักมานุษยวิทยาที่มหาวิทยาลัย รัดเจอร์ส
พบว่า สิ่งสำคัญที่สุดที่มีส่วนและมีบทบาท ต่อความสุข


ต่อการทำงานของคนก็คือ
ความรู้สึกที่มีต่อชีวิตที่บ้าน


หลายคนคิดว่างานเป็นเรื่องที่พอจะทนได้มากกว่า
เพราะสภาพครอบครัวชวนให้เครียดมากกว่า


ทีมงานของมหาวิทยาลัยพบด้วยว่า
คนเรามักจะเอนเอียงไปกับมิตรภาพในที่ทำงานมากกว่า


ทำให้ชีวิตครอบครัวที่มีความกดดันมากยิ่งแย่ลง
เพราะถูกนำไปเปรียบเทียบกับที่ทำงาน


และความจริงน่าเศร้าก็คือ
ชีวิตที่บ้านไม่อาจจะเลียนแบบอย่างจากที่ทำงานได้


และเราไม่ควรคาดหวังว่า
มันจะเหมือนกันได้


ที่ทำงานนี้เปรียบเทียบที่ทำงานอื่นได้
แต่ไม่ใช่กับที่บ้าน


ซึ่งเป็นที่ที่ทุกๆ อย่างซับซ้อนกว่า
แต่ก็เป็นที่ที่ให้รางวัลกับชีวิตที่น่าชื่นใจกว่า


วันดีๆ ในที่ทำงานวันหนึ่ง
อาจจะเอาไปเปรียบเทียบกับวันอื่นๆ ในที่ทำงาน


วันดีๆ วันหนึ่งที่บ้าน
ก็ต้องเปรียบกับวันอื่นๆ ในบ้าน



ไม่น่าแปลกใจที่การสำรวจพบว่า
คนที่มีความสุขมักจะมีประสบการณ์ทางบวก


มากกว่าคนที่ไม่มีความสุข
แต่ที่น่าสนใจมากคือ


จริงๆ แล้ว ชีวิตของทั้งสองพวกไม่ได้ต่างกันนัก

งานวิจัยพบว่า คนที่มีความสุข...
จะประสบกับเหตุการณ์ในระดับเดียวกับคนที่ไม่มีความสุข


แต่ความแตกต่างคือ
วิธีที่พวกเขาตีความว่า


ประสบการณ์นั้นเป็น ...บวกหรือลบ...


ปาร์ดุชชี่ 1995
-------------
จาก 100 วิธีมีความสุขทุกๆ วัน
โดย ดร.เดวิด ไนเวน ชานชาลา แปล

วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2552

บนเส้นทางสู่สุขภาพดีถ้วนหน้า

สวัสดีค่ะ พี่น้อง ผองเพื่อนชาวชุมชนจิตใจดีที่รักทุกท่าน


ห่างหายไปนานเลยค่ะ จากภาระงาน (รับการประเมินผลงาน 4 เดือน) และภาระการดูแลครอบครัว...
(คุณแม่ไม่สบายผ่าตัดนิ่วในท่อไต ตอนนี้แข็งแรงดีแล้วค่ะ )


เมื่อวันที่ 18-20 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสไปร่วมงานมหกรรมสุขภาพชุมชน 2552 ณ อิมแพ็คคอนเวนชั่นเซนเตอร์ เมืองทองธานี นนทบุรี

จัดโดย ความร่วมมือของหลายองค์กรด้านการสาธารณสุข ซึ่งมีองค์กรสนับสนุนหลัก ได้แก่
สำนักงานประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส. )
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช)
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
แผนงานสร้างเสริมสุขภาพคนพิการในสังคมไทย (สสพ.)
สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ (สวสส.)
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข

ส่วนองค์กรภาคีร่วมจัด 15 องค์กร จะไม่ขอกล่าวในที่นี้นะคะ

แต่ก็ขอขอบคุณทุกองค์กรค่ะที่มีงานดี ๆ แบบนี้ให้ได้เรียนรู้ และสร้างแรงบันดาลใจ
ขอบคุณหัวหน้าสถานีอนามัย.. ที่มีคำสั่ง (ด่วน) ให้ได้ไปร่วมงาน....

ในงานนี้มีหลักคิดการดำเนินโครงการที่น่าสนใจ คือ การแปลแนวคิดหลักการเชิงนามธรรมของบริการปฐมภูมิเป็นปฏิบัติการเชิงรูปธรรม มีเวทีการเรียนรู้ระหว่างเครือข่ายและนำเสนอตัวอย่างรูปธรรมในการดูแลสุขภาพที่หลากหลาย เช่น การดูแลผู้ป่วยและการทำงานที่ดีกับชุมชน โดยรูปธรรมเหล่านี้จะเป็น "ตัวนำ" แนวคิด หรือเป็นตัวแบบ (Examplars) สำหรับการเรียนรู้แนวคิดสำคัญ (Learnable key concepts) ของบริการปฐมภูมิ

ที่สำคัญรูปธรรมเหล่านี้จะเป็นทั้งตัวอย่างของการแปลแนวคิดเป็นปฏิบัติการในบริบทที่แตกต่างหลากหลาย และเป็นแรงบันดาลใจให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานด้านสุขภาพในชุมชน เห็นว่าการสร้างระบบบริการปฐมภูมิมีลักษณะเด่นของการดูแลแบบองค์รวม ผสมผสาน ต่อเนื่อง และใช้ชุมชนเป็นฐานนั้นเป็นไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด



หลังจากลงทะเบียนแล้ว ขึ้นบันไดเลื่อนมาจะเห็นป้ายมหกรรมสุขภาพชุมชนด้านหลัง..จึงขอถ่ายภาพไว้ก่อน



บู๊ทเครือข่ายหมออนามัย มีชมรมหมออนามัย วารสารหมออนามัย .น้องเค้าโพสต์ท่าน่ารักดี..(แอบถ่ายอ่ะ..)


มีภาพแสดงการให้บริการในชุมชมที่น่าสนใจหลายภาพ
..หมออนามัย..หัวใจไร้พรมแดน....


การดูแลสุขภาพแบบใกล้บ้าน ใกล้ใจ


บนเส้นทางสู่สุขภาพดีถ้วนหน้า ..สร้างคุณค่าความเป็นคน สร้างสุขภาพชุมชนให้เข้มแข็ง
เป็นไฮไลน์ของงานทีเดียว มีพิธิเปิดอลังการ..ด้วยขบวนแห่กองยาวและเปิดภาพ สองนายแพทย์แกนนำผู้บุกเบิกงานสาธารณสุข และการดูแลสุขภาพในประเทศไทย




ภาพนพ. สงวน นิตยารัมย์พงศ์ และนพ. เสม พริ้งพวงแก้ว สองนายแพทย์แกนนำผู้บุกเบิกงานการดูแลสุขภาพในประเทศไทย

บนผนังประกอบด้วยภาพการดูแลสุขภาพเล็ก ๆ ที่ส่งมาจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศเกือบหมื่นภาพ



น้อง ๆ จากโรงพยาบาลไหนไม่รู้ ภาพสวย แสงให้ จึงนำเสนอ....(แอบถ่าย..อีกละ)





บนเส้นทางสู่สุขภาพดีถ้วนหน้า


เป็นเรื่องราวของงานสาธารณสุขในประเทศไทย ..น่าสนใจทีเดียว จึงตั้งใจคัดลอกมาฝาก


อ่านแล้วภาคภูมิใจมาก..ที่ได้เกิดเป็นคนไทยและได้เป็นคนสาธารณสุข ..จึงอยากแบ่งปัน .....ค่ะ


บนเส้นทางสู่สุขภาพดีถ้วนหน้า


พ. ศ. 2205
บาทหลวงโธมาส วาลกัวเนารา (Thomas Valguanera) ชาวอิตาเลื่ยน มาเริ่มงานสุขาภิบาลเป็นครั้งแรกในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยวางระบบส่งน้ำจากทะเลชุบศรเข้ามาใช้ในตัวเมืองลพบุรี

พ. ศ. 2331
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม เปลี่ยนชื่อเป็นวัดเชตุพนวิมลมังคลาวาส ทรงให้ทำศาลาราย ตั้งตำรายาและฤาษีดัดตนไว้เป็นทาน

พ. ศ. 2378
หมอบรัดเลย์ ได้ริเริ่มเปิดโอสถศาลาขึ้นในปีแรกที่เข้ามาถึงกรุงเทพ ฯ ในบริเวณตลาดสำเพ็ง ใกล้วัดเกาะซี่งเป็นแหล่งชุมชนแออัด ชุกชุมด้วยโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ

พ. ศ. 2373
หมอบรัดเลย์ ได้ริเริ่มงานป้องกันโรคติดต่อขึ้นเป็นครั้งแรก โดยนำการปลูกฝี ป้องกันไข้ทรพิษเข้ามาใช้

พ. ศ. 2392
หมอเฮาน์ มีบทบาทสำคัญในการควบคุมอหิวาห์ตกโรค ในการระบาดทั่วโลก ครั้งที่ 2 ซึ่งมีคนตายทั้งในกทม. และหัวเมืองใกล้เคียง กว่า 40,000 คน การใช้ทิงเจอร์การบูรผสมน้ำให้ผู้ป่วยดื่มบ่อย ๆ ทำให้ไม่มีการตายอีก

พ. ศ. 2404
นพ. เจมส์ ดับบลิว แม็คเคน (Jams W. McKean) ได้ตั้งสถานพยาบาลโรคเรื้อนขึ้นที่เชียงใหม่เป็นแห่งแรกในประเทศไทย มีการฉีดน้ำมันกระเบาบำบัดผู้ป่วย ภายหลังการค้นพบวิธีผลิตเพียง 9 ปี

พ. ศ. 2423
โรงพยาบาลแห่งแรกถูกสร้างขึ้นที่ จ. เพชรบุรี

พ. ศ. 2431
โรงพยาบาลศิริราช เปิดให้บริการในวันที่ 26 เมษายน 2431 และเปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2431


พ. ศ. 2432
กรมพยาบาลได้ย้ายมาสังกัดกระทรวงธรรมการ เริ่มมีแพทย์ประจำเมืองขึ้นบางแห่ง มีการนำยาตำราหลวง ออกจำหน่ายในราคาถูก และตั้งกองแพทย์ไปป้องกันโรคระบาด

พ. ศ. 2432 (พฤษภาคม)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ขึ้น ณ โรงพยาบาลศิริราช ใช้เวลาเรียน 3 ปี จบแล้วได้รับประกาศนียบัตรแพทย์ ซึ่งนักเรียนแพทย์รุ่นแรกมี 15 คน

พ. ศ. 2439
สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระราชทานพระราชทรัพย์ให้สร้างโรงเรียนแพทย์ผดุงครรภ์ และหญิงพยาบาลขึ้นในบริเวณโรงศิริราชพยาบาล เป็นโรงเรียนพยาบาลแห่งแรกของประเทศไทย

พ. ศ. 2456
มีการขยายและจัดตั้ง “โอสถศาลา” หรือโอสถสถานขึ้นในบางจังหวัด

พ. ศ. 2461 (27 พฤศจิกายน)
ประกาศตั้งกรมสาธารณสุข โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นชัยนาทนเรนทร เป็นอธิบดีในสังกัดกระทรวงมหาดไทย

พ. ศ. 2470
เปิดอบรมหมอตำแยครั้งแรกที่วชิรพยาบาล

พ. ศ. 2474
กรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย ได้จัดตั้งโรงเรียนอบรมผดุงครรภ์ชั้นสองขึ้นในวชิรพยาบาล นับเป็นโรงเรียนผดุงครรภ์แห่งแรกของประเทศไทย

พ. ศ. 2475
โอสถศาลา หรือโอสถสถาน ได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น “สุขศาลา” โดย “สุขศาลาชั้นหนึ่ง” มีแพทย์ไปประจำ ส่วน “สุขศาลาชั้นสอง” คือไม่มีแพทย์ไปประจำ




พ. ศ. 2495 – พ. ศ. 2500
นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว ร่วมกับอธิบดีกรมการแพทย์ในการผลักดันให้มีการก่อตั้งโรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัย รวมทั้งวิทยาลัยพยาบาล และโรงเรียนเทคนิคการแพทย์ขึ้นอีกด้วย



ช่วงหลัง ๆ จดไม่ทัน เลยอาศัยถ่ายรูปมาให้อ่าน แบบนี้ค่ะ... อิ อิ


พ. ศ. 2517
“ศูนย์การแพทย์อนามัยชนบท” กลายเป็น “ศูนย์การแพทย์และอนามัย”

พ. ศ. 2518
โรงพยาบาลชุมชนระดับอำเภอ ถูกสร้างขึ้นครอบคลุมทั่วทั้งประเทศและมีโครงการสงเคราะห์ประชาชนผู้มีรายได้น้อยที่เรียกย่อ ๆ ว่า “โครงการ สปน.”

พ. ศ. 2519
กระทรวงสาธารณสุข โดยกองอนามัยครอบครัว สำรวจและอบรมหมอตำแยทั่วประเทศ โดยการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลก และองค์การสงเคราะห์เด็กแห่งสหประชาชาติ ในระหว่างปี 2519 – 2528 มีหมอตำแยได้รับการอบรมจำนวน 12,864 คน

พ. ศ. 2520
“ศูนย์การแพทย์และอนามัย” ได้รับการยกระดับเป็น “โรงพยาบาลอำเภอ”

พ. ศ. 2520 - 2525
เริ่มดำเนินการสาธารณสุขมูลฐาน ตั้งแต่การพัฒนาการสาธารณสุขฉบับที่ 4 (พ. ศ. 2520 – 2525) โดยเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน เทคโนโลยีที่เหมาะสม การประสานระหว่างสาขาและการปรับระบบบริการสาธารณสุข


พ. ศ. 2525
โรงพยาบาลอำเภอ เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงพยาบาลชุมชน”

พ. ศ. 2526
เริ่มโครงการบัตรสุขภาพ โดยใช้กลไกด้านการคลังสุขภาพชุมชนและการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการสนับสนุนการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพอนามัยแม่และเด็กเป็นหลัก

พ. ศ. 2527
มีการนำสมุนไพรเพื่อการพึ่งตนเอง และเริ่มสนับสนุนการใช้สมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน




พ. ศ. 2540
วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ทำให้แนวคิดการดูแลสุขภาพปฐมภูมิได้รับความสำคัญ เพราะเป็นบริการสุขภาพที่ต้นทุนต่ำและชาวบ้านเข้าถึงบริการได้ง่าย

พ. ศ. 2542
พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจปี 2542 กำหนดให้มีการถ่ายโอนภารกิจบริการของรัฐระดับต่าง ๆ ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแต่ละระดับ (อบต. เทศบาล อบจ.)

พ. ศ. 2544
ก่อเกิด สสส. หรือสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และมีการเริ่มดำเนินโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ภายใต้นโยบายรัฐบาลที่เรียกว่า “โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค”

พ. ศ. 2545
ร่างพระราชบัญญัติ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ผ่านความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร นำไปสู่การจัดตั้ง “สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)”






จนถึงปัจจุบัน ก็ยังมีการพัฒนาสถานบริการสาธารณสุขอย่างไม่หยุดยั้ง โดยมีแนวคิดการพัฒนายกระดับสถานีอนามัยให้เป็น ศูนย์สุขภาพชุมชน (Primary Care Unit หรือเรียกย่อ ๆ ว่า PCU) และศูนย์แพทย์ชุมชน (CMU) เพื่อให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการสุขภาพในทุกระดับ และทุกสภาวะการเจ็บป่วย


มีการพัฒนามาตรฐานคุณภาพบริการด้านการรักษาพยาบาลในงานต่าง ๆ ตามกรอบอัตรากำลังที่ไม่เพียงพอ (มาตลอด) จึงมีแนวคิดเรื่องของชุมชนเข้มแข็ง และการพึ่งคนเอง ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช มุมมองกำลังคนด้านสาธารณสุข จึงหมายถึง ทุกคนค่ะ เพราะสุขภาพดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องสร้างเอง (จบห้วน ๆ แบบนี้แหละ..อิ อิ ..)


พบกันใหม่ตอนหน้าค่ะ ถอดบทเรียนจากนวัตกรรมการดูแลสุขภาพ จากสถานีอนามัย และโรงพยาบาล ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ที่นำเสนอในบู๊ทต่าง ๆ มี 160 เรื่องนวัตกรรม ได้แนวคิดนวัตกรรมการดูแลสุขภาพ มาใช้ในงาน ในที่ทำงานมากมายทีเดียวเชียวล่ะ...

ขอบคุณค่ะที่ติดตามอ่านจนจบ


....ขอบคุณค่า..า า